การปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดีเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ว่าจ้างและลูกจ้างทุกคนควรใส่ใจ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงานและผลกระทบต่อสุขภาพของคนงาน คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการส่งเสริมและรักษาสภาพความปลอดภัยและสุขภาพในสถานที่ทำงาน ดังนั้น ข้อควรรู้เกี่ยวกับ คปอ. มีดังนี้
5 ข้อความรู้เกี่ยวกับ คปอ.
1. คปอ. ย่อมาจากอะไร
คปอ. ย่อมากจาก คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ภาษาอังกฤษมีชื่อว่า Safety Committee
2. คปอ. คือใคร
คปอ. คือ กลุ่มคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยฃ สุขภาพทางอาชีพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. ทำอย่างไรถึงจะได้เป็น คปอ.
หากคุณสนใจในการปฏิบัติงานตำแหน่ง คปอ. มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
- ก่อนอื่นเลยต้องเริ่มมาจากเช็คว่าองค์กรของคุณต้องมี คปอ. ไหม ซึ่งกำหนดไว้ในบัญชี1 2 และ 3 ระบุไว้ท้ายกฎหมายกระทรวง 2565
- จากนั้นดูจำนวนพนักงานให้องค์กรโดยเริ่มต้นที่ 50 คนต้องมี คปอ. ในการทำงาน
- การเลือกตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง จะมีจำนวนคนแตกต่างกันไปตามจำนวนพนักงานในองค์กร
- เมื่อได้ลูกจ้างพร้อมปฏิบัติงานในตำแหน่ง คปอ. แล้ว องค์กรต้องส่งลูกจ้างเหล่านี้เข้าอบรมหลักสูตร คปอ. ตามกฎหมายกำหนด
- เมื่อผ่านการอบรมแล้ว นายจ้างต้องส่งรายงานผู้ผ่านอบรมต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นการยืนยันเป็นผู้ปฏิบัติงาน คปอ. อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4. จำนวนคปอ ต้องมีกี่คนในองค์กร
จะมีจำนวนเท่าไหร่นั้นถูกกำหนดไว้ตามกฎหมาย ดังนี้
- จำนวนพนักงานในองค์กร 50-99 คน ต้องมีคปอไม่น้อยกว่า 5 คน
- จำนวนพนักงานในองค์กร 100-499 คน ต้องมีไม่น้อยกว่า 7 คน
- จำนวนพนักงานในองค์กรมากกว่า 500 คน ต้องมีไม่น้อยกว่า 11 คน
5.ใบวุฒิบัตรหลังผ่านอบรมมีอายุนานกี่ปี
ใบวุฒิบัตร หรือใบเซอร์การผ่านอบรม มีอายุได้เพียง 2 ปี เมื่อคณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงานรุ่นเก่าใกล้หมดอายุการทำงาน นายจ้างต้องทำการเลือกรุ่นใหม่เข้าอบรม ก่อนที่จะหมดอายุภายใน 30 วัน
6. คุณสมบัติผู้เข้าอบรม คปอ.
- ได้รับการยอมรับเข้าอบรมจากองค์กร (เนื่องจากเป้นหลักสูตรที่ไม่สามารถสมัครได้ด้วยตนเองได้ ต้องส่งในนามบริษัท)
- มีเอกสารยินยอมให้เข้าอบรม
- ไม่กำหนดวุฒิการศึกษา
7. ตำแหน่งคณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงาน มีตำแหน่งอะไรบ้าง
จากที่กล่าวในข้างต้นว่า คปอมาจากการเลือกตั้ง ทำให้ตำแหน่งในการทำงานมีทั้งในส่วนของนายจ้างเลือก และลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหลัก 4 ตำแหน่ง คือ ประธานกรรมการ (ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) กรรมการความปลอดภัย (ผู้แทนนายจ้างระดับหัวหน้างาน) กรรมการความปลอดภัย (ผู้แทนลูกจ้าง) กรรมการและเลขนุการ (จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)
สรุป
การอบรม คปอ. เป็นการลงทุนที่มีผลต่อการดำเนินงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการทำงานและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพในที่ทำงานในทุกๆ ระดับขององค์กร