การป้องกันอันตรายจากการทำงานกับระบบไฟฟ้า

เราจะป้องกันอันตรายจากการทำงานกับระบบไฟฟ้าในโรงงานได้อย่างไร

by Constance Powell

การป้องกันอันตรายจากการทำงานกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน สามารถทำได้ได้อย่างไรบ้าง

ขึ้นชื่อว่าไฟฟ้า นั้นมีประโยช์มหาศาล ช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในปัจจุบันก็ว่าได้ นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะให้แสงสว่าง ให้ความร้อน และทำให้เกิดพลังงานต่างๆ ที่ให้เราเอาพลังงานเหล่านั้นไปใช้แล้ว แต่ไฟฟ้าหากถูกใช้อย่างไม่ถูกวิธี ก็ก่อให้เกิดโทษอย่างร้ายแรงได้เช่นกัน เช่น ทำให้เราได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากไฟฟ้า ทำให้เกิดความเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจร แต่ชีวิตเราก็ขาดไฟฟ้าไม่ได้ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะใช้ให้ถูกวิธี

เมื่อพูดถึงไฟฟ้า ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่เราตื่นมา เราก็ต้องเปิดไฟ เพื่อให้แสงสว่าง ตอนนอนก็ต้องเปิดแอร์หรือพัดลม หรือแม้แต่การประกอบอาหารก็มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมากมาย หรือแม้แต่การทำงานก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่เราในฐานะผู้ใช้ไฟฟ้า ถึงแม้ว่าจะมีอันตราย แต่ก็ไม่ใช่ผู้สัมผัสโดยตรงเหมือนกับช่างไฟฟ้า ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นช่างไฟทั่วไป หรือช่างไฟโรงงานย่อมมีโอกาสได้รับอันตรายจากไฟฟ้า หากไม่มีความรู้ ความชำนาญโดยเฉพาะ

 

งานอะไรที่ถือว่าเกี่ยวกับไฟฟ้า

 

งานอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

  • ช่างไฟฟ้างานที่มีการทำในลักษณะเกี่ยวกับการติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • ผู้ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ทดสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
  • งานอื่นในลักษณะเดียวกัน กับระบบไฟฟ้า บริภัณฑ์ไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้า

 

ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน

 

ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน

บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับไฟฟ้าในโรงงานโดยตรง ก็คือวิศวกรไฟฟ้า และช่างไฟฟ้า ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ไม่ใช่ว่าใครอยากทำก็ทำได้ โดยวิศวกร คือ คนที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร และช่างไฟฟ้าในโรงงานต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับไฟฟ้าตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า สำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือผู้ที่ได้รับการทดสสอบวัดความรู้ช่างไฟฟ้า ตามกฎหมายของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในกรณีที่ 

 

เราจะป้องกันอันตรายจากการทำงานกับไฟฟ้าได้อย่างไร

 

เราจะป้องกันอันตรายจากการทำงานกับไฟฟ้าได้อย่างไร

การป้องกันอันตรายกับไฟฟ้ามีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธี สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าได้ และหากเราทำได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งปลอดภัยมากเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น 

  1. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี เพราะหากระบบไฟฟ้าได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาประจำปีอย่าง ถูกต้อง เราก็จะสามารถรู้ได้ว่า มีอุปกรณ์อะไรเสื่อมสภาพที่ต้องเปลี่ยน เพื่อป้องกันก่อนเกิดเหตุหรือไม่
  1. การใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรในระหว่างปฏิบัติงานกับไฟฟ้า และการติดป้ายเตือนเพื่อป้องกัน การเชื่อมต่อวงจร ในขณะที่ช่างไฟฟ้ากำลังปฏิบัติงาน หรือที่เราเรียกกันว่าระบบ Log Out – Tag Out ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามารถป้องกันชีวิตของผู้ปฏิบัติงานจากไฟฟ้าได้ให้ใช้อย่างถูกวิธี
  1. ผ่านการอบรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้า  ไม่ว่าเราจะทำหน้าที่อะไร เราต้องมีความรู้ ความชำนาญ ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งงานไฟฟ้าก็เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เฉพาะด้าน เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง
  1. แผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในสถานประกอบกิจการทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรู้เส้นทางของการเดินไฟฟ้าทั้งหมดได้ และอย่าลืมจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าด้วย
  1. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า นอกจาก 4 ข้อที่กล่าวมา ข้างต้น สิ่งที่มีความสำคัญและขาดไม่ได้ในงานไฟฟ้า ก็คืออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือหนัง ถุงมือยาง แขนเสื้อยาง หมวกนิรภัย รองเท้าพื้นยางหุ้มข้อชนิดมีส้นหรือรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น  และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เช่น แผ่นฉนวนไฟฟ้า ฉนวนหุ้มสาย ฉนวนครอบลูกถ้วย กราฟาราเดย์ ชุดตัวนำไฟฟ้า

นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้นยังต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงอื่นๆด้วยเช่นหากพื้นที่ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าสูงจากพื้นดินมากกว่า 4 เมตรต้องจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์หรืออุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพและหมวกนิรภัยตามมาตรฐานหรือถ้างานนั้นอาจเสี่ยงต่อการจมน้ำก็ต้องมีเสื้อชูชีพด้วย เว้นแต่ว่าอุปกรณ์นั้นจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้นก็ต้องหาวิธีอื่นที่ปลอดภัยแทนซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกระบุไว้ใน “หมวด 4 ของ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า .. 2558” หากต้องการทราบอย่างละเอียดสามารถอ่านกฎหมายฉบับเต็มได้ ซึ่งยังมีรายละเอียดอื่นๆ ระบุไว้

 

การปฏิบัติงานกับไฟฟ้า

 

สรุป

การปฏิบัติงานกับไฟฟ้าต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญโดยเฉพาะและเป็นบุคคลที่ถูกระบุไว้ตามข้อกำหนดของกฎหมายนอกจากมีบุคคลที่ถูกต้องตามลักษณะของงานแล้วขั้นตอนการปฏิบัติงานและมาตรการด้านความปลอดภัยก็สำคัญเช่นกันอย่างที่กล่าวไปข้างต้นหากเราทำได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งปลอดภัยมากเท่านั้น

นอกจากจะควบคุมบุคคลภายในที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแล้วต้องไม่ลืมที่จะควบคุมความปลอดภัยของผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าในโรงงานด้วยเช่นกัน

logo-molten-gl7

แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความมั่นใจในสถานที่ทำงานของคุณไปพร้อมกัน

เรื่องแนะนำ

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by motion-gl7